ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา จัดตั้งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2476 บนเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน
กับ 26 ตารางวา ในนามโรงเรียนประถมช่างไม้ ต่อมา พ.ศ. 2480 ได้ย้ายมาอยู่ถนนมหาจักรพรรดิ์ ซึ่งเปิดเป็นเป็นโรงเรียนช่างไม้ฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2494 ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การการปรับปรุงการศึกษาแห่งชาติ โดยเอ็ม.เอาร์.แวนไวท์ผู้เชี่ยวชาญการอาชีวศึกษาแห่งองค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้รับการพัฒนาปรับปรุงร่วมกับโรงเรียนอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราและยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมพ.ศ. 2519 และต่อมา พ.ศ. 2523 ได้แยกจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา เป็นวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
— วันที่ 21 มีนาคม 2476 เป็นวันเกิดของสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง “โรงเรียนประถมช่างไม้” อาคารเรียนหลังแรกตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง อันเป็นที่ของวัดเมือง ( วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ ) ซึ่งปัจจุบันก็คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา
— ครั้งแรกนักเรียนที่จบป. 4 เข้าเรียนต่อประถมปีที่ 5 – 6 ก็จบวิชาที่เรียนก็เป็นงานช่างไม้เบื้องตอนเช่น เจาะ เข้าเดือย ไสไม้ ลับกบ ลับสิ่ว .. เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดินก็มีไม่มากนัก หรือแม้ตัวอาคารก็อาศัยประชาชนคือ บริษัทเอื้อวิทยา ได้บริจาคไม้มาปลูกสร้างกันเองโดย ครูฟื้น เมฆกระพัฒน์ เป็นครูใหญ่คนแรก ท่านไม่มีวุฒิทางช่าง แต่มีความชำนาญทางช่างไม้เป็นอยางดีมีครูเพียงสองคนเท่านั้น
— ปี พ.ศ. 2477 ได้เปิดช่างต่อผ้าอีกแขนงหนึ่ง มีหลักสูตร 2 ปี นักศึกษา 35 คน มีครู 4 คน ซึ่งช่างทอผ้าก็สอนวิชาช่างทอผ้าเบื้องต้น เช่น ย้อมผ้า เข้าด้าย หลอดเดินด้ายเข้าพับหวี ทอยดอกลวดลาย ..
— ปี 2478 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนหัตถกรรม” (เอื้อวิทยาบูรณะ) ได้ครูเพิ่มอีกหลายคนและผู้ปกครองสนใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนมีจำนวนมากขึ้น
— ปี พ.ศ. 2480 ได้ย้ายมาอยู่ที่ ถนนมหาจักรพรรดิ์ (ที่อยู่ปัจจุบัน) รับเฉพาะวิชาช่างไม้ สอนวิชาช่างทอผ้าที่เรียนเดิม ที่ใหม่มีเนื้อที่ 16 ไร่ เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนช่างไม้ฉะเชิงเทรา” คุณครู วินัย วัยวุฒิ เป็นครูใหญ่
— พ.ศ. 2490 คุณครู วินัย วัยวุฒิ ได้ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนช่างไม้นนทบุรี คุณครูสุรินทร์ สิกขากุล เป็นครูใหญ่แทนจน พ.ศ.2492 ท่านก็ย้ายไปสอนที่โรงเรียนก่อสร้างอุเทนถวาย และ คุณครูสำเนียง รักสัตย์ มาเป็นครูใหญ่แทน
— พ.ศ. 2494 โรงเรียนได้รับการช่วยเหลือจาก องค์การปรับปรุงการศึกษาของชาติ โดยมี มิสเตอร์เอ็ม.อาร์ แวนไวท์ ผู้เชี่ยวชาญการอาชีว ศึกษาแห่งองค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
— พ.ศ. 2495 อาจารย์ บูรณะ วงษ์ประดิษฐ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่แทนพร้อมด้วย มิสเตอร์โยเยอร์ วิลสัย มาประจำ ทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ เพราะกิจการของโรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก เกือบจะกล่าวได้ว่าเป็นโรงเรียนตัวอย่างระดับประเทศทีเดียว จนปีต่อ ๆ มาต้องมีการสอบเข้าเรียน ( เดิมขอร้องให้มาเรียนโดยไปขอนักศึกษาที่จบ ป.4 จากโรงเรียนประชาบาลมาเรียน ) จน พ.ศ. อาจารย์ บูรณะ วงษ์ประดิษฐ์ ได้รับทุนไปดูงานที่สหรัฐอเมริกา 1 ปี นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งที่เราได้รับ
— พ.ศ. 2496 อาจารย์ ธนู แสวงศักดิ์ ได้มารับหน้าที่ครูใหญ่ พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญคนใหม่ คือ มิสเตอร์แคนนี่ นักเรียนเพิ่มจำนวนเป็น 216 คน มีครู 10 คน การศึกษาได้ก้าวหน้ามากขึ้นถึงมีเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศ เช่น ลาว เขมร อเมริกัน มาชม และโรงเรียนก็ได้เปิดสอนวิชาช่างโลหะขึ้นอีก แผนกหนึ่ง ได้รับนักเรียนที่จบ ม.3 (ม.1 สมัยนี้ ) มาเรียนต่อ ในปีต่อ ๆ มา ครูก็ได้รับทุนไปดูงานจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น อาจารย์ ธนู แสวงศักดิ์ได้ไปศึกษาต่อที่อเมริกา
— พ.ศ. 2499 อาจารย์ วิสูตร พลาชีวิน ได้มาดำรงตำแหน่งแทน พ.ศ. 2500 อาจารย์ วิสูตรได้ไปศึกษาต่อที่อเมริกา 3 ปี จน พ.ศ. 2501 อาจารย์ สมจริง กนกนาก ได้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ครูได้เพิ่มขึ้นเป็น 30 คน มีนักเรียนถึง 318 คน ปีนี้ได้เลิกรับนักเรียนที่จบ ป.4 รับเฉพาะผู้จบ ม.3 และ ม . 6 เพื่อเรียนต่อในระดับ ปวช. ในระยะนี้ครูได้รับทุนไปศึกษาต่อหลายท่าน
— ปี พ.ศ. 2503 เป็นปีที่ครบสัญญา ที่องค์การยูเนสโก แต่เราก็เข้าอยู่ในองค์การ ด.พ.ศ. และโครงการ พ.ศ.ภ. และยังได้รับอุปการะจากศูนย์ช่างฝีมือของซีโต และได้ตัดระดับมัธยมการช่างตอนปลาย เหลือแต่ระดับ ปวช. ปลายปี 2503 อาจารย์ เพี้ยน หล่อนิ ได้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
1. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
2. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
3. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
4. สาขาช่างเทคนิคโลหะ
5. สาขาวิชาช่างยนต์
6. สาขาวิชาช่างเทคโนโลยีโทรคมนาคม
7. สาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม/ช่างกลโรงงาน
8. สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต
9. สาขาวิชาช่างเมคคาทรอนิกส์
และระดับปริญญาตรี 2 สาขาดังนี้
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเชื่อม (ต่อเนื่อง)
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า (ต่อเนื่อง)